ประโยชน์ของน้ำผึ้งจากงานวิจัย

ประโยชน์ของน้ำผึ้งจากงานวิจัย

เมื่อพูดถึงน้ำผึ้งแล้วเราจะนึกถึงน้ำที่ให้ความหวานหอมและแสนอร่อย บางท่านก็ทานเป็นประจำ ซึ่งก็ทำให้ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว แต่เมื่อเรามาเจาะลึกถึงน้ำผึ้งธรรมชาติในวิชาการสมัยใหม่ เราก็จะทราบถึงประโยชน์ของน้ำผึ้ง และสรรพคุณของน้ำผึ้งเดือน 5 เพิ่มเติมขึ้นไปในบางมุมที่ยังไม่รู้

1.คุณสมบัติต้านแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค

น้ำผึ้งสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ถึง 60 สายพันธุ์ (species) ทั้งชนิดที่ต้องการอากาศและไม่ต้องการอากาศในการเจริญเติบโต ทั้งกลุ่มกรัมบวกและกรัมลบ พบว่าความเป็นกรดของน้ำผึ้งมีผลต่อจุลินทรีย์ก่อโรค

 

พบว่าความเป็นกรดของน้ำผึ้งมีผลต่อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น Bacillus anthracis สาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ Corynebacterium diptheriae สาเหตุของโรคคอตีบ Haemophilus influenzae สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Klebsiella pneumoniae สาเหตุของโรคปอดอักเสบ Mycobacterium tuberculosis สาเหตุของวัฯโรค Pasteurella multicoda

 

สาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ Yersinia enterocolitica สาเหตุของกาฬโรค Acinetobacter spp. สาเหตุของโรคปอดบวม Serratia marcescens สาเหตุของโรคติดเชื้อ Shigella dysentery สาเหตุของโรคบิด Listeria monocytogenes Proteus species, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ streptococcus faecalis

 

สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ s. Mutans สาเหตุของโรคฟันผุ S. pneumoniae สาเหตุของโรคปอดอักเสบหรือนิวมอเนีย S. pyogenes สาเหตุของโรคไข้รูมาติก และ Vibrio cholera สาเหตุของอหิวาตกโรค

 

สารละลายน้ำผึ้งเข้มข้น 20% ยับยั้ง helicobacterpylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้ น้ำผึ้งไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาของเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้านยา ดังเช่นที่เกิดเมื่อให้ยาปฎิชีวนะในการรักษาโรค จึงทำให้สามารถใช้น้ำผึ้งรักษาติดต่อกันไปได้อย่างต่อเนื่อง น้ำผึ้งระดับความเข้มข้น 5-10% โดยปริมาตร มีผลหยุดการเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic) ส่วนความเข้มข้น 8 – 15% โดยปริมาตร ฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal) 

 

ใน ขณะที่น้ำผึ้งไม่แท้ (ทำจากสารละลายน้ำตาล) ที่ความเข้มข้น 20 – 30% สามารถหยุดการเติบโตของแบคทีเรีย แต่ไม่มีความสามารถฆ่าแบคทีเรีย 

 

กลไกการต้านจุลินทรีย์ของน้ำผึ้งอาศัยคุณสมบัติ 4 ประการของน้ำผึ้งเอง ได้แก่ ความชื้นต่ำของน้ำผึ้งไปดึงความชื้นจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นเซลล์ของแบคทีเรียจึงสูญเสียน้ำ สภาพความเป็ฯกรดของน้ำผึ้ง ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจาก ปฎิกิริยาของกลูโคสออกซิเดส และปริมาณพฤกษเคมี (phytochemical) ชนิดต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของน้ำผึ้ง อีกทั้งสารหอมระเหย (volatiles) กรดอินทรีย์ เกสร (pollen) propolis (เป็นสารเรซินจากรังผึ้ง) oligosaccharides ล้วนพบว่ามีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ได้

2. ผลต่อเชื้อรา

มีรายงานว่า น้ำผึ้งยับยั้งเชื้อ Candida albicans สาเหตุของโรคติดเชื้อแคนดิดา (candidiasis) ยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก (ringworm) โรคน้ำกัดเท้า (athletes foot) และน้ำผึ้งเจือจางสามารถยับยั้งการสร้างสารพิษท็อกซินได้ น้ำผึ้งมีผลรักษาอาการต่อมไขมันอักเสบ (seborrheic dermatitis) และรังแค (dandruff) ด้วย

3. ผลต่อเชื้อไวรัส

น้ำผึ้งมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของเริมที่ปากและเริมที่อวัยวะเพศโดยการใช้น้ำผึ้งทาบริเวณนั้นๆ ทั้งมีรายงานว่าสมารถยับยั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหัดเยอรมัน (rubella) อีกด้วย

4. การรักษาแผล

มีรายงานจำนวนมากเกี่ยวกับผลอันมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งของน้ำผึ้งต่อการรักษาแผล แม้ผลของการศึกษาถึงกลไกการรักษาแผลยังไม่ปรากฎชัดเจน แต่รายงาน ประสิทธผลในการใช้น้ำผึ้งล้างแผล (wound dressing) การใช้บรรเทาและรักษาแผลไฟไหม้ การป้องกันการติดเชื้อในแผลผ่าตัดเนื้องอกผ่านกล้อง การรักษาโรคเหงือกอักเสบ การช่วยลดรอยแผลเป็น ฯลฯ 

 

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานการวิจัยที่ระบุว่า น้ำผึ้งความเข้มข้น 0.1% สามารถกระตุ้นให้เกิดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว B-lymphocytes และ T-lymphocytes และน้ำผึ้งธรรมชาติมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ 

 

เร็วๆนี้ มีรายงานการศึกษาการดูแลสุขภาพระดับมืออาชีพในโรงพยาบาลของประเทศเยอรมัน 9 แห่ง และโรงพยาบาลของประเทศออสเตรีย 1 แห่ง ซึ่งสนใจใช้น้ำผึ้ง Medihoney ในการรักษาแผลนานมากกว่า 2 ปี จากข้อมูลการรักษาบาดแผลที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ 121 แผล ในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 

 

และเป็นผู้ป่ายด้านเนื้องอก (oncology patient) 32% พบว่า ขนาดของแผลเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ และบาดแผลบรรเท่าลงได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ความเจ็บปวดจากแผลลดลุงอย่างมีนัยสำคัญ และบาดแผลแสดงเนื้อเยื่อตายที่ลดลง ( Biglari et al,. 2013)

5. โรคทางเดินอาหาร

น้ำผึ้งเข็มข้น 5% โดยปริมาตร มีผลลดระยะเวลาของโรคท้องเสียที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียที่ไปทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ แต่ไม่มีผลต่อโรคท้องเสียเนื่องจากเชื้อไวรัส น้ำผึ้งเข้าไปเพิ่มการดูดซึมโพแทสเซียมและน้ำโดยไม่เพิ่มการดูดซึมโซเดียม และช่วยซ่อมแซมผนังลำไส้ กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และทำหน้าที่เป็นสารป้องกันการอักเสบทั้งมีรายงานว่า H. pylori ไวต่อน้ำผึ้งที่มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สูง 20%

6. โรคทางตา

น้ำผึ้งใช้รักษาตาโดยการหยดที่ดวงตาที่เกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีหรือความร้อน เช่น ตาดำอักเสบ (keratitis) , หนังตาอักเสบ (blepharitis), แผลกระจกตา (cornea injury) และเยื่อตาอักเสบ (conjunctivitis)

7. โรคเบาหวาน

น้ำผึ้งลดการเพิ่มขึ้นของระดับกลูโคสในพลาสมาของผู้เป็นเบาหวาน นอกจากนี้น้ำผึ้งมีบทบาทควบคุมการตอบสนองต่อ glycemic โดยการลดกลูโคสในเลือด น้ำตาลที่จับกับโปรตีนในเลือด (serum fructosamine) หรือ ลดความเข้มข้นของฮีโมโกลบินที่รวมตัวกับกลูโคส (glycosylated hemoglobin) ทั้งช่วยลดไขมันในเลือด รักษาระดับ homocysteine and C- reactive protein (CRP ) ของผูมีไขมันสูงให้ปกติ

8. โรคหัวใจและหลอดเลือด

น้ำผึ้งมีผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยไปยับยั้งการอักเสบ ปรังปรุงหน้าที่ของเซลล์เยื่อบุผิวของผนังหลอดเลือด ทั้งยังเพิ่มความต้านทานของ LDL ต่อการออกซิเดชั่น มีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary heart disease; CHD) โดยปรับปรุงการขยายตัวของเส้นเลือด (coronary vasodilatation) ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด และป้องกันการเกิดออกซไดซ์ของ LDL


มีการศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินพบว่า การรับประทานน้ำผึ้งธรรมชาติ 70 กรัม เป็นเวลานาน 30 วัน ช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอล LDL-C triacylglycerole และ C-reactive protein โดยไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีรายงานที่กล่าวว่า น้ำผึ้งช่วยเพิ่ม HDL-C ลดไตรกลีเซอไรด์ และลดความดันโลหิตได้

9. น้ำผึ้งเป็นสารที่ใช้เก็บรักษาอาหารและเป็นพรีไบโอติก

เมื่อน้ำผึ้งมีไฮดรเจนเปอร์ออกไซด์และสารต้านอนุมูลอิสระจึงสามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในอาหารได้ เช่น E. coli, Listeria monocytogenes และ S. aureus ดังนั้นน้ำผึ้งจึงนับเป็นสารช่วยถนอมอาหารได้

 

นอกจากนี้น้ำผึ้งยังเป็ฯแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่ช่วยลดการเกิดสีน้ำตาลที่เกิดจาก polyphenol oxidase ในผักและผลไม้แปรรูป มีรายงานว่า สามารถใช้น้ำผึ้งเป็ฯสารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์นมหมักโดยไม่มีผลยับยั้งการเติบโตของ S. thermophilus, Lactobacillus acidophilus, L. delbruekii และ Bifidobacterium bifidum และน้ำผึ้งช่วยส่งเสริมการเติบโตของ Bifidobacterium

10. ความสามารถต้านอนุมูลอิสระของน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งธรรมชาติประกอบด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น apigenin, pinocembrin, kaempferol, quercetin, galangin, chrysin และ hesperetin กรดฟีนอลิก เช่น ellagic, caffeic, p-coumaric และ ferulic acids, ascorbic acid, tocopherols, catalase, superoxide dismutase, reduced glutathione, Maillard reaction products และ peptides 

 

ซึ่งมีฤทธิ์เสริมกันในการต้านอนุมูลอิสระ น้ำผึ้งจึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่มีรายงานว่า สามารถใช้แทน sodium tripolyphosphate เพื่อชะลอการเกิด lipid oxidation ในอาหาร ความสามารถต้านอนุมูลอิสระสัมพันธ์กับปริมาณฟินอลิกทั้งหมดและสัมพันธ์กับสีของน้ำผึ้ง น้ำผึ้งสีเข้มมีปริมาณฟินอลิกทั้งหมดสูง

11. การเพิ่งพลังงาน

น้ำผึ้งเป็นสารผสมของฟรุกโนสและกลูโคสโดยธรรมชาติที่พร้อมด้วยโอลิโกแซคคาไรด์ โปรตีน และแร่ธาติ จึงนับเป็นสารเพิ่มพลังงาน (energy boost) ช่วยยกระดับการออกกำลังกายให้นักกีฬา 

 

โดยร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสอย่างรวดเร็วและเพิ่มพลังงานในทันที (immediate energy boost) และดูดซึมฟรุกโตสอย่างช้าๆ คอยให้พลังงานเรื่อยๆ ช้าๆ (sustained energy) 

 

มีรายงานว่า นักกีฬาจักรยานที่รับประทานน้ำผึ้งแสดงประสิทธิภาพในการขี่จักรยานระยะทาง 65 km ที่เหนือกว่านักกีฬาที่รับประทานกลูโคส การรับประทานน้ำผึ้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย มีผลต่อการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ (muscles rejuvenation) และการฟื้นคืนของไกลโคเจน (glycogen restoration) 

 

น้ำผึ้ง ธรรมชาติยังให้ผลที่นอกเหนือจากการเพิ่มพลังงานด้วยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเเละเพิ่มการทำงานของหัวใจหลังการฝึก น้ำผึ้งจึงเป็น functional food ที่ดีกว่าอาหารเพิ่มพลังงานทางการค้าที่ผลิตมาเพื่อนักกีฬาหรือผู้ชอบการออกกำลังกาย (Ajibola, 2015)

12. ผลของน้ำผึ้งต่อสุขภาพในด้านอื่น

น้ำผึ้งมีความสามารถต้านเนื้องอก โดยยับยั้งกระบวนการก่อกลายพันธุ์ (mutagenesis) หรือชักนำกระบวนการตายของเซลล์แบบ apoptosis (Yaacob, Nengsih and Norazmi, 2013) มีประสิทธิภาพเสมือนยารักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 

 

มีรายงานระบุว่า น้ำผึ้งอาจใช้เป็นสารทดแทนฮอร์โมนสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากการศึกษาในหนูพบว่า ช่วยป้องกันมดลูกฝ่อ (uterine atrophy) เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และควบคุมการเพิ่มน้ำหนักตัว (Eteraf-Oskouei and Najafi, 2013)

แหล่งอ้างอิง: นิตยาสารวิชาการ ฉบับ 46, 2016 ฝ่ายเคมีและกายภาพอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แชร์:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
ร้านลูกสาวบ้านดอย แอดมิน

ร้านลูกสาวบ้านดอย แอดมิน

สินค้าตามฤดูกาลสดจากไร่ ส่งตรงถึงผู้บริโภค